HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Tuesday, August 11, 2009

การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์ที่มีน้ำหนักลด

 
ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์ที่มีน้ำหนักลด สูญเสีย lean body mass นั้น อาจเกิดจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

ได้รับอาหารไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยเบื่ออาหาร
ปัญหาระบบทางเดินอาหาร เช่น เป็นแผลในปาก ติดเชื้อราในปากและลำคอ เจ็บแสบเวลากลืนอาหาร เนื่องจากเป็นแผลในอาหาร
Herpes virus กลืนอาหารลำบากอาจเป็นเชื้อราในหลอดอาหาร Lymphoma, Kaposi 's sarcoma, neurological manifestations มีเลือดออกในทางเดินอาหารและที่สำคัญคือ อาการท้องเสีย (พบได้ 80-90 %)
ยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อฉวยโอกาสหรือยาต้านไวรัสเอดส์ อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร การรับรสเปลี่ยนไป
ปัญหาด้านจิตสังคม เช่น มีอาการวิตกกังวล อาการซึมเศร้า การไม่สามารถออกไปซื้ออาหารหรือเตรียมอาหารได้เนื่องจากเจ็บป่วย รวมทั้งขาดแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวหรือคนใกล้ชิด
ระบบประสาทส่วนกลาง (พบได้ 75-90 %) ทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาในการกลืนอาหาร ความจำไม่ดี มีอาการหลงลืม ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เอง ความยากอาหารลดลง
การเปลี่ยนแปลงเมตาบอลิซึมของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย เช่น มีความต้องการพลังงานขั้นพื้นฐานสูงขึ้น เนื่องจากเป็นไข้ ติดเชื้อฉวยโอกาสหรือมะเร็ง
การดูดซึมอาหารผิดปกติ เนื่องจากการติดเชื้อเอดส์ที่ลำไส้ ทำให้กระเพาะอาหารทำงานผิดปกติและการหลั่งกรดลดลง ทำให้เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสเพิ่มมากขึ้น การดูดซึมอาหารลดลง มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ ท้องเสีย เป็นมะเร็ง Kaposi sarcoma มีความผิดปกติของตับอ่อน เกิดการติดเชื้อฉวยโอกาสทำให้ตับอ่อนอักเสบ หรือจากยา DDI การใช้ยาปฏิชีวนะชนิดต่างๆ แบบครอบจักรวาล ทำให้เชื้อแบคทีเรียในลำไส้เจริญเติบโตเพิ่มขึ้น
สังคมวัฒนธรรมของผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย เช่น ความเชื่อบางอย่างเกี่ยวกับศาสนาและวัฒนธรรม การรับประทานอาหาร การงดอาหารบางอย่างหรืองดอาหารบางมื้อ ภาวะเศรษฐกิจยากจน ไม่มีเงินพอที่จะซื้ออาหารที่มีคุณค่า ขาดความรู้ด้านโภชนาการ มีปัญหาด้านสุขาภิบาล การเลือกรับประทานอาหารเฉพาะอย่าง การขาดทักษะในการเตรียมอาหาร การการเสพติดยา แอลกอฮอล์ บุหรี่ เป็นต้น
ข้อแนะนำ
  • ถ้าผู้ป่วยซูบผอม สูญเสียน้ำ มีน้ำหนักตัวลดลงมาก ควรให้ผู้ป่วยมีโอกาสตัดสินใจ และมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา มีการวางแผนที่จะเลือกชนิดของอาหาร หรือหลีกเลี่ยงอาหารอะไร เวลาใดที่ควรรับประทาน และปริมาณเท่าไรที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อ

0 comments:

Post a Comment


PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

News

ข้อมูลเพิ่มเติม

กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
โทร. 5918411, 5903201

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โทร.5918577, 5901778, 5901783

ขำขำ คลายเครียด

โปรแกรมฟรี + key gen

  © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP