HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Tuesday, August 11, 2009

การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการเบื่ออาหาร

การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการเบื่ออาหาร
  • อาการเบื่ออาหารจะทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง ถ้าไม่แก้ไขจะทำให้น้ำหนักตัว ไขมันและ cell mass ของร่างกายลดลง อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิเช่น จากไวรัสเอดส์ ยาที่ผู้ป่วยใช้อยู่ แผลในช่องปากและหลอดอาหาร การกลืนอาหารลำบาก มีไข้ หรือทำให้รู้สึกไม่สบาย การรับรสเปลี่ยนแปลง ขาดสารอาหารบางชนิด เช่น สังกะสี อาจทำให้ความอยากอาหารลดลง และทำให้เบื่ออาหารเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ปัญหาด้านจิตใจ เช่น ความวิตกกังวล ความเครียด ความซึมเศร้าจากการเจ็บป่วยหรือเรื่องอื่นๆ อาจทำให้เบื่ออาหารและทำให้รับประทานอาหารแล้วรู้สึกอิ่มเร็วผิดปกติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นต้องเสริมโภชนาการให้กับผู้ป่วยตั้งแต่ระยะแรก
 
ข้อแนะนำ

ควรชั่งน้ำหนักและสอบถามประวัติการรับประทานอาหาร คำนวณปริมาณพลังงานที่ได้รับ เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของชนิดและ
  ปริมาณอาหารที่บริโภค

พยายามจัดอาหารตามความชอบของผู้ป่วยและให้ผู้ป่วยมีโอกาสเลือกตัดสินใจว่าจะรับประทานอะไรเพื่อกระตุ้นให้อยากรับประทาน
  มากขึ้น ควรเปลี่ยนชนิดของอาหารและปรุงรสชาติอร่อย

จัดอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานทีละน้อย แต่บ่อยครั้ง เช่น ทุก 2-3 ชั่วโมง จะทำให้ไม่แน่นท้องเหมือนรับประทานอาหารมื้อใหญ่

อาหารที่จัดให้ผู้ป่วยควรจะให้สารอาหารที่มีพลังงานสูง เพื่อลดปริมาณอาหารที่ต้องรับประทาน

เสิร์ฟอาหารให้แก่ผู้ป่วยในบรรยากาศที่ดี เช่น รับประทานอาหารร่วมกับครอบครัว

ถ้าผู้ป่วยไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ควรได้รับโปรตีนชดเชยเพราะผู้ป่วยต้องการโปรตีนสูงกว่าปกติ 2-3 เท่า

ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ลดลง หรือน้ำหนักตัวลดลงอย่างชัดเจน ควรจัดอาหารที่มีพลังงานสูงให้กับผู้ป่วย มีอาหารขบเคี้ยวใกล้
  ตัว เพื่อความสะดวกในการหยิบอาหารรับประทาน หรืออาจจำเป็นต้องให้สายให้อาหาร เพื่อเสริมหรือทดแทนอาหารที่รับประทานตามปกติ

ถ้าอาการเบื่ออาหารเกิดจากยา ควรเปลี่ยนเป็นให้ยาหลังอาหาร

0 comments:

Post a Comment


PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

News

ข้อมูลเพิ่มเติม

กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
โทร. 5918411, 5903201

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โทร.5918577, 5901778, 5901783

ขำขำ คลายเครียด

โปรแกรมฟรี + key gen

  © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP