HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Tuesday, August 11, 2009

อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้ ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์มักเป็นไข้

 
อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นไข้ ผู้ติดเชื้อ HIV และผู้ป่วยเอดส์มักเป็นไข้ ซึ่งสามารถแบ่งเป็น
  • ไข้ระยะสั้นหรือเฉียบพลัน เช่น ไข้หวัด ทอนซิลอักเสบ ไข้ไทฟอยด์
  • ไข้เรื้อรัง เกิดเป็นระยะเวลายาวนาน สาเหตุจาก ติดเชื้อวัณโรค ปวดอักเสบ เชื้อ
    ไวรัสเอดส์ เยื่อหุ้มสมองอักเสบ มะเร็ง
ผลที่เกิดขึ้นแก่ร่างกายขณะเป็นไข้ มักหายใจเร็วร่างกายสูบฉีดโลหิตเร็วขึ้นและยังมีผลอื่น ๆ ที่สำคัญดังนี้
การเผาผลาญในร่างกายเปลี่ยนแปลง ความต้องการพลังงานสำหรับทำงานของอวัยะภายในจะสูงขึ้นร้อยละ 7 ทุก ๆ 1 ฟาเรนไฮต์ที่เพิ่มขึ้น
ปริมาณไกลโคเจนที่สะสมในร่างกายจะถูกใช่ร่อยหรอไป
โปรตีนสลายตัวและมีการสูญเสียสารที่เกิดจากการสลายตัวของโปรตีน เช่น ยูเรียมีมากขึ้นในปัสสาวะ ซึ่งทำให้ไตมีภาระมากขึ้น
การสูญเสียน้ำเกิดมากขึ้นทั้งนี้เนื่องจากเหงื่อออกและเสียน้ำเพื่อขับถ่ายของเสียต่าง ๆ ทางปัสสาวะ โดยเฉพาะสารที่มาจาการสลายตัวของโปรตีน ต้องการน้ำในการขับถ่ายมากกว่าสารอื่น
ร่างกายสูญเสียเกลือมากขึ้น นอกจากนี้บางโรคก็มีการสูญเสียโปแตสเซียมมากด้วย
ระบบทางเดินอาหารเคลื่อนไหวน้อยลง และสารอาหารดูดซึมน้อยลง
การดัดแปลงอาหาร การเปลี่ยนแปลงของกร่างกายข้างต้นมีผลต่อความต้องการสารอาหารของร่างกายดังนี้
พลังงาน อาจต้องเพิ่มมากขึ้นกว่าปกติร้อยละ 50 หรือมากกว่า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุต่างๆ อาทิเช่น อุณหภูมิของร่างกาย การสลายตัวของเนื้อเยื่อว่ามีมากน้อยเพียงไร อาการกระวนกระวาย อาการเบื่ออาหารของคนไข้ระหว่างไข้ขึ้นสูง ทำให้ได้พลังงานไม่เพียงพอ แต่ก็ควรรีบให้อาหารที่มีพลังงานสูงทันทีที่อาการเริ่มทุเลา

โปรตีน ระหว่างเป็นไข้ ควรให้โปรตีนสูงกว่าปกติ เพราะโปรตีนมีการสลายตัวมากดังได้กล่าวแล้ว ควรให้โปรตีนมากกว่า 1.5 กรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม
คาร์โบไฮเดรต ควรรับประทานคาร์โบไฮเดรตให้เพียงพอ เพื่อชดเชยไกลโคเจนที่บกพร่องไป โดยมากนิยมใช้กลูโคสเพราะหวานน้อย ดูดซึมได้ทันที อาจใช้ซูโคสหรือน้ำเชื่อมด้วยก็ได้ แต่มักไปบูดในระบบทางเดินอาหารและอาจทำให้ท้องเดินได้ สำหรับแลคโตสนั้นราคาแพงและละลายในน้ำเย็นได้ยาก
ไขมัน อาจเพิ่มไขมันได้บ้างพอสมควร แต่ควรเป็นไขมันชนิดย่อยง่าย ละเว้นอาหารทอดหรืออาหารที่ไขมันสูงมาก เพราะย่อยยากและทำความระคายเคืองแก่ระบบทางเดินอาหาร
เกลือแร่ ควรกินเกลือให้เพียงพอโดยการใส่เพิ่มเติมในอาหาร ถ้าเป็นไข้สูงและระยะเวลานาน รับประทานอาหารไม่ได้ มักขาดโปแตสเซียม(อาหารปกติมักมีพอ) ดังนั้นควรให้น้ำผลไม้และนมหรืออาหารที่มีโปแตสเซียมสูง ถ้ามีการเสียเลือดมาก ต้องเพิ่มเหล็กด้วย
วิตามิน การเป็นไข้ทำให้ความต้องการวิตามิน เอ ซี และบีรวมมากขึ้น การใช้ยาปฏิชีวนะและยาบางอย่างขัดขวางการสังเคราะห์วิตามินบี ดังนั้นควรได้รับวิตามินเพิ่ม
น้ำ ควรได้รับวันละ 21/2-5 ลิตร โดยดื่มน้ำ น้ำผลไม้ เครื่องดื่มอ่อนๆ หรือรับประทานอาหารเหลว เช่น ซุป แกงจืด
อาหารที่ให้ควรมีรสอ่อน ย่อยง่าย เพื่อช่วยให้ร่างกายย่อยและดูดซึมเร็ว ร่างกายจะได้พักผ่อนมากที่สุด อาจให้อาหารอ่อนหรืออาหารปกติก็ได้ แม้ว่าในระยะแรกจำเป็นต้องให้อาหารเหลวก็ตาม แต่อาหารเหลวนั้นไม่ควรให้เป็นระยะเวลานาน เพราะจะมีปัญหาหลายประการ เช่น มีปริมาตรมาก แต่มีพลังงานและสารอาหารต่ำ และมักรบกวนระบบทางเดินอาหาร เช่น ทำให้อึดอัด เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียนได้มากกว่าอาหารแข็ง
 
 
 
 
 
อาหารสำหรับไข้ระยะสั้น
การดัดแปลงอาหารตามความต้องการทางโภชนาการ มักทำได้ง่ายเพราะระยะการเป็นไข้สั้น ระหว่งเป็นไข้อาจผ่อนปรนเรื่องอาหารได้ชั่วคราวเพื่อให้อวัยวะได้พักผ่อน ยังไม่จำเป็นต้องนึกถึงแคลอรี่และโปรตีน ให้แต่อาหารอ่อนและเหลว(ประมาณ 800-1200 แคลอรี่) โดยครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง เพราะคนไข้มักมีความอยากอาหารน้อยกว่าปกติ แต่ถ้าระยะไข้นานกว่า 2-3 วัน อาหารที่ให้ต้องมีแคลอรี่และโปรตีนสูง หลักสำคัญคือ ต้องได้รับน้ำเพียงพอที่จะช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย และชดเชยการสูญเสียน้ำทางเหงื่อและควรให้คาร์โบไฮเดรตให้มากเพียงพอ เมื่อคนไข้ยอมรับประทานอาหารหรือมีความอยากอาหารมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันการเกิดสารเป็นกรดมากเกินไปในเลือด
 
ในระยะไข้สูงหรือรุนแรง การให้อาหารย่อยเหลวและดูดซึมง่าย ไม่ระคายเคืองหรือไม่มีกาก และเพิ่มปริมาณน้ำด้วย (ประมาณ 3-4 ลิตร) เพื่อป้องกันการขาดน้ำ อาจให้น้ำผลไม้คั้นหรือน้ำส้มคั้น ชา กาแฟชงอ่อนผสมน้ำตาล (ระยะไข้รุนแรงไม่ควรให้นมและครีม เพราะอาจทำให้แน่นท้องได้) อาจให้น้ำขวด น้ำต้มไก่ ซุปใส น้ำข้าว การให้อาหารทุกๆ 2 ชั่วโมงเพื่อให้คนไข้พัก บางครั้งอาจต้องให้ทางสายให้อาหาร โดยทั่วไปแบ่งเป็นขั้นๆ ดังนี้
ขั้นที่ 1ให้ทางสายให้อาหารครั้งละ 30-50 มิลลิลิตรทุก 2 ชั่วโมง สลับกับน้ำ แล้วจึงค่อยๆ เพิ่มเป็น 150-200 มิลลิลิตร อาหารที่ให้คือน้ำผลไม้หรือน้ำข้าวผสมน้ำตาลและเกลือก็ได้น้ำชาผสมมะนาว นมที่เอาไขมันออก จะเพิ่มโปรตีนและไขมันก็ได้
ขั้นที่ 2ให้ทางสายให้อาหารต่อไป และลองทดสอบคนไข้ว่า สามารถที่จะกลืนอาหารได้หรือไม่โดยให้น้ำผลไม้ 1-2 ช้อนชา แต่ยังไม่ควรเลิกการให้ทางสายอาหาร
ขั้นที่ 3ให้อาหารย่อยง่ายและกากน้อยเมื่อกลืนอาหารได้สะดวกแล้ว หยุดให้ทางสายอาหารไม่ควรให้อาหารเหนียวอาหารทอด ผักผลไม้ดิบ อาหารรสจัดอาหารพวกแป้งหรือคาร์โบไฮเดรตสูง
ขั้นที่ 4 ให้อาหารแข็งมากขึ้นเช่นเนื้อบดขนมปัง(อาจนึ่งหรือปิ้งและทาเนยด้วยก็ได้)ขนมรสอ่อนๆ ไอศกรีม นมและผลิตภัณฑ์จากนมและผลไม้ ผักต้มสุก เมื่ออาการทุเลาแล้วให้อาหารแคลอรี่สูงและโปรตีนสูง พยายามให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารครบทั้ง3 มื้อและให้เครื่องดื่มระหว่างมื้ออีกวันละ 3ครั้ง
อาหารสำหรับไข้เรื้อรัง
ผู้ป่วยวัณโรค มักมีการสูญเสียเนื้อเยื่อ อ่อนเพลีย ไอ มีเสมหะ มีไข้ตอนบ่าย น้ำหนักลด เบื่ออาหาร อาการป่วยระยะเฉียบพลันจะคล้ายกับโรคปอดบวม อุณหภูมิของร่างกายสูง การหายใจและการหมุนเวียนของเลือดเร็วขึ้น ยิ่งระยะยาวนานก็ยิ่งจะเสียเนื้อเยื่อมาก และมักมีอาการทางกระเพาะลำไส้ร่วมด้วย
 
ระหว่างมีไข้สูง ควรให้อาหารเหลว มีพลังงานสูงประมาณ 2,500-3,000 แคลอรี่และโปรตีนสูงประมาณ 75-100 กรัม เพราะระยะนี้โปรตีนในเลือดลดต่ำ อาหารที่ให้จึงควรย่อยและดูดซึมง่ายเช่นเดียวกับที่ได้กล่าวมาแล้วระยะต่อมาจึงค่อยให้อาหารอ่อนแล้วเปลี่ยนเป็นอาหารธรรมดา ถ้ามีการเพิ่มของน้ำหนักมากเกินไปควรลดพลังงานลงบ้างสำหรับโปรตีนควรให้ในปริมาณที่สูงอยู่ อาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตและไขมันควรเลือกอาหารย่อยง่ายการดื่มนมวันละประมาณ 960 ซีซี นอกจากให้โปรตีนที่เพียงพอแล้วยังให้แคลเซียมสูงด้วยซึ่งจะช่วยในการสมานแผลที่เกิดจากโรค ควรรับประมานไข่เนื้อสัตว์อื่นๆ และตับให้มากขึ้นด้วยถ้ามีการไอเป็นเลือดต้องเพิ่มเหล็กในอาหารคนที่เป็นวัณโรคร่างกายจะเปลี่ยนแคโรทีนเป็นวิตามิน เอ ยากขึ้น ดังนั้น ควรรับประทานตับให้มากขึ้นหรือรับประทานวิตามิน เอชนิดเม็ดเพิ่มเติม(เช่น น้ำมันตับปลา) นอกจากนี้ยังพบว่าคนไข้มักขาดวิตามินซี ยิ่งเป็นโรคนานจะยิ่งขาดวิตามินซีมาก ผู้ป่วยจึงต้องรับประทานผักสดหรือผลไม้สดให้มาก ดื่มน้ำส้มคั้น หรืออาจให้วิตามินเม็ดด้วย โดยทั่วไปแล้วยารักษาโรคมักทำให้ความต้องการวิตามินบีหกสูงขึ้นจึงควรให้วิตามินบีหกเพิ่มเติมคนไข้ส่วนมากมักไม่อยากอาหาร ดังนั้นจึงควรให้วิตามินบีหกอย่างน้อย 4 มื้อหลังอาหารและก่อนนอนหรืออาจให้วันละ 6 ครั้งก็ได้ และเมื่อหายแล้วก็ควรรับประทานอาหารโปรตีนสูง รวมทั้งผักและผลไม้ให้มากต่อไป อาหารควรจัดให้ย่อยง่ายและมีสีสันน่ารับประทานนอกจากนี้พักผ่อนให้เพียงพอและอยู่ในอากาศที่บริสุทธิ์ จะช่วยให้หายจากโรคเร็วขึ้น
 
สรุป
ผู้ที่เป็นไข้หรือเป็นโรคติดเชื้ออื่นๆ ที่มีอาการไข้ จะมีความต้องการพลังงาน โปรตีน และสารอาหารอื่นๆ สูงกว่าคนปกติ อาหารที่ให้ควรมีรสอ่อน เคี้ยวง่าย ย่อยและดูดซึมง่าย มีกากน้อย ไม่ทำความระคายเคืองแก่ระบบทางเดินอาหารและมีน้ำเพียงพอ การให้อาหารควรให้จำนวนน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ในระยะที่เป็นไข้รุนแรง ควรให้อาหารเหลวก่อน เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยให้อาหารอ่อน แล้วเปลี่ยนเป็นอาหารธรรมดาที่คุณค่าสูง การดัดแปลงอาหารให้ถูกหลักโภชนาการมีความสำคัญมาก เพราะนอกจากจะช่วยให้อวัยวะต่างๆ ได้พักผ่อนชั่วคราวแล้ว ยังช่วยแก้ไขความเสื่อมโทรมของร่างกายอันเกิดจาก การสลายตัวของเนื้อเยื่อต่างๆ ให้กลับสู่สภาพปกติได้ง่ายและเร็วขึ้นอีกด้วย

0 comments:

Post a Comment


PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

News

ข้อมูลเพิ่มเติม

กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
โทร. 5918411, 5903201

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โทร.5918577, 5901778, 5901783

ขำขำ คลายเครียด

โปรแกรมฟรี + key gen

  © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP