สารอาหารที่สำคัญ
วิตามินบี 1
วิตามินบี 1 มีความสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต พบว่าเมื่อร่างกายมีการติดเชื้อหรือมีไข้ร่วมด้วยจะมีความต้องการวิตามินสูงขึ้น มีรายงานการวิจัยของ Hardiman และคณะ ศึกษาในผู้ติดเชื้อ HIV 24 คนพบว่า 25 % ของกลุ่มตัวอย่างมีระดับวิตามินบี 1 ไม่เพียงพอ และงานวิจัยของ Butterworth และคณะ ซึ่งศึกษาผู้ติดเชื้อ HIV 39 คนพบว่า 23 % ของกลุ่มตัวอย่างมีภาวะขาดวิตามินบี 1
วิตามินบี 6
วิตามินบี 6 ส่วนสำคัญในกระบวนการเมตาบอลิซึมของโปรตีนและอาจมีส่วนช่วยให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้นด้วย จากการวิจัยของ Baum และคณะ ซึ่งศึกษาปริมาณวิตามินบี 6 ในผู้ติดเชื้อ HIV 44 คนพบว่า 42 % มีภาวะพร่องวิตามินบี 6 อย่างชัดเจน และ 30 % อยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มมีภาวะพร่องวิตามินบี 6 สาเหตุอาจเป็นเพราะมีการดูดซึมวิตามินบี 6 ลดลง มีการเพิ่มการทำงานของเมตาบอลิซึมของตับเพิ่มขึ้นไตทำหน้าทีทลดลง และมีการสูญเสียกล้ามเนื้อไป แต่ควรระวังในการเสริมวิตามินบี 6 เกินขนาด 7-10 กรัมต่อวันเป็นเวลานานๆ อาจเกิดอันตรายต่อระบบประสาทรับสัมผัสได้
วิตามินบี
วิตามินบี 12 เป็นส่วนสำคัญในการสร้างเส้นใยประสาท หากร่างกายขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานาน ระบบประสาทอาจจะเสื่อมอย่างถาวรได้ ส่งผลให้มีความผิดปกติด้านระบบความคิด นอกจากนี้การขาดวิตามินบี 12 เป็นเวลานาน ยังทำให้เกิดโรคโลหิตจางได้ งานวิจัยของ Manterr-Atienza และคณะ ศึกษาระดับวิตามินบี 12ในพลาสมาของผู้ติดเชื้อ HIV พบว่า 11 % ของผู้ติดเชื้อ HIV มีวิตามินบี 12 ในพลาสมาอยู่ในระดับต่ำและ 12 % ของผู้ติดเชื้อ HIV ขาดวิตามินบี 12 อย่างชัดเจน
โฟลิค แอซิค
โฟลิค แอซิค(folic acid) เป็นโมเลกุลหลักในกลุ่มของอนุพันธ์ที่เรียกว่า โฟเลท โฟลิค แอซิค มีส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือด ถ้าร่างกายขาดโฟเลท จะเกิดโลหิตจางและมีเม็ดเลือดแดงและเกร็ดเม็ดเลือดผิดปกติ และยังอาจมีผลต่อระบบประสาทได้ มีงานวิจัยเกี่ยวกับโฟเลท ซึ่งมีผลการวิจัยที่แตกต่างกัน เช่น งานวิจัยของ Beach และคณะ วัดปริมาณโฟเลทในผู้ติดเชื้อ HIV ชาย 100 คน (ซึ่งเป็นผู้ที่ยังไม่มีอาการมากกว่าผู้ที่มีอาการ) พบว่ามีระดับโฟเลทสูงขึ้น 58 % เมื่อได้รับสารอาหารเสริมในขนาดไม่เกินปริมาณที่ร่างกายควรได้รับในแต่ละวัน (RDA)
วิตามินเอแลละเบต้า-แคโรทีน
เบต้า-แคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของเรตินอล(Retinol)หรือวิตามินเอ ซึ่งพบได้ในผักผลไม้ที่มีรสส้ม สีแดง เบต้า-แคโรทีนเป็นสารมีฤทธิ์ antioxidant และมีประสิทธิภาพมากกว่าวิวตามินเอ มีงานวิจัยที่ศึกษาถึงผลของเบต้า-แคโรทีน ในผู้สูงอายุซึ่งภูมิต้านทานลดลงตามธรรมชาติ พบว่าการเสริมเบต้า-แคโรทีน จะช่วยเพิ่มจำนวนnatural killer cell ที่น่าสนใจคือ มีงานวิจัยที่ศึกษาผลของวิตามินเอที่มีต่อการส่งผ่านเชื้อ HIV ไปยังลูก โดยศึกษาในแม่ที่มีเชื้อ HIV จำนวน 338 คนที่มาฝากท้อง และมีการติดตามหลังคลอดเป็นเวลา 1 ปี พบว่าแม่ที่ส่งผ่านเชื้อ HIV ไปยังลูก มีระดับวิตามินเอในพลาสมา 1.07 mmol/l แต่อย่างไรก็ตามผู้วิจัยได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า ต้องมีการวิจัยซ้ำเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนมากขึ้น
มีข้อควรระวังคือ การใช้เรตินอล(วิตามินเอ) ในขนาดสูง อาจทำให้เกิดอันตรายต่อตับ กระดูก หรืออาจทำให้ผมร่วง ปวดศีรษะ หรือเห็นภาพซ้อนได้ จึงไม่ควรใช้ในขนาดเกิน 7500 ไมโครกรัมในผู้หญิง และ 9000 ไมโครกรัมในผู้ชาย ส่วนเบต้า-แคโรทีนนั้น ยังไม่มีรายงานพิษแม้จะได้รับในขนาดสูง
วิตามินอี
วิตามินอีเป็น antioxidant ที่ละลายในไขมัน พบว่าบทบาทของวิตามินอีที่เกี่ยวข้องกับภูมอต้านทานนั้น จะสัมพันธ์กับบทบาทของวิตามินอีใน cell membrane ด้วย มีการศึกษาถึง ผลของการใช้วิตามินอีในผู้สูงอายุ พบว่าวิตามินอีทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายดีขึ้น เช่น การใช้วิตามินอี ในขนาด 5-20 IU/kg/วัน แต่ถ้าใช้ในขนาดสูงเกินไปจะไปกดภูมิต้านทานได้
วิตามินซี
วิตามินซีมีบทบาทสำคัญในการเสริมกลไกการป้องกันเชื้อโรคตามธรรมชาติของร่างกาย โดยเพิ่มการหลั่ง immunoglobulin และ interferon เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว เพิ่มการสร้าง lymphocyte และเป็น antioxidant ด้วย Harakeh และคณะ วิจัยถึงผลของวิตามินซีที่มีต่อเชื้อ HIV ในหลอดทดลอง พบว่า วิตามินซีสามารถยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อได้ เมื่อใช้ความเข้มข้นของวิตามินซี มากกว่า 50 มก./มล. โดยเสริมฤทธิ์กับยาต้านไวรัส แต่ถ้าใช้ขนาดมากกว่า 400 มก./มล. จะทำให้เกิดความเป็นพิษได้ นอกจากนี้แม้ว่าจะมีการวิจัยหลายชิ้นที่กล่าวถึง การใช้วิตามินซีขนาดสูงในผู้ติดเชื้อ HIV แต่ก็ยังไม่มีกลุ่มควบคุมที่จะเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจน ถึงผลของการใช้วิตามินซีที่มีต่อพัฒนาการของโรค
ขนาดของวิตามินซีที่ทำให้เกิดผลข้างเคียงในคนคือ 3-4 กรัมต่อวัน อาจทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ได้ นอกจากนี้บางครั้งยังรบกวนผลของการวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการของสารบางอย่างได้
เซเลเนียม
เซเลเนียมเป็นสารสำคัญสำหรับการทำงานของ glutathione peroxiddase ซึ่งลดการทำงานของเซล จากการ oxidation จากงานวิจัยของ Mantero-Atienza และคณะ ซึ่งศึกษาระดับเซเลเนียมในพลาสมาของผู้ติดเชื้อ HIV จำนวน 70 คนพบว่า ผู้ที่ระดับเซเลเนียมต่ำ จะมี natural killer cell activity ลดลง ส่วนผู้ที่มีระดับเซเลเนียมสูงจะมีการสร้าง antibody ที่เป็นเช่นนี้เพราะ ผู้ติดเชื้อ HIV เมื่อมีอาการของโรคเพิ่มขึ้น จะเกิดการสูญเสียเนื้อเยื่อเพิ่มขึ้นทำให้เซเลเนียมที่สะสมในเนื้อเยื่อ ถูกปลดปล่อยออกมาอยู่ในพลาสมาเพิ่มขึ้น ดังนั้นการแปรผลของเซเลเนียมในพลาสมา จะต้องทำด้วยความระมัดระวัง ขนาดของเซเลเนียมที่ทำให้เกิดพิษคือมากกว่า 750 ไมโครกรัมต่อวัน ดังนั้นขนาดที่แนะนำที่ปลอดภัยคือ 450 ไมโครกรัมต่อวัน(ในผู้ชาย)
สังกะสีและทองแดง
ทั้งสังกะสีและทองแดงมีความสำคัญต่อการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ ของร่างกาย การขาดสังกะสีในคนปกติอาจเป็นเพราะร่างกายมีการดูดซึมสังกะสีผิดปกติ การขาดสังกะสีจะมีส่วนทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดลง งานวิจัยของ Isa และคณะ ซึ่งศึกษาผลของการเสริมสังกะสีในผู้ติดเชื้อ HIV ชายที่เคยติดยาเสพติด พบว่าหลังจากให้ zinc sulfate 1 mg/kg/ วัน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ พบว่าระดับสังกะสีในพลาสมาเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น มี CD4 count เพิ่มขึ้นปานกลาง แต่อย่างไรก็ตามการได้รับสังกะสีในขนาดสูง(300 mg/วัน) อาจจะมีผลทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลงได้ และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดเกร็งช่องท้องและท้องเสีย ดังนั้นจึงควรระมัดระวังการใช้สังกะสีโดยใช้ในขนาดเท่าที่จำเป็น
เหล็ก
เหล็กเป็นส่วนสำคัญของเม็ดเลือดแดงและเอ็นไซม์ต่างๆ การขาดเหล็กมีผลต่อการลดจำนวน T-cell และลดความสามารถของ neutrophil ในการทำลายเชื้อโรค ดังนั้นการที่ร่างกายมีเหล็กสะสมไว้ต่ำ อาจทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย มีงานวิจัยส่วนหนึ่งที่แสดงว่า ผู้ป่วยทั่วไปที่ขาดอาหารและได้รับการเสริมด้วยเหล็กจะมีอัตราการตายลดลง แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นจะต้องมีการศึกษาขนาดของเหล็กที่เหมาะสม เพราะผู้ใหญ่หากได้รับเหล็กมาก เช่น ขนาด 100 กรัม อาจทำให้เสียชีวิตได้ และขนาดที่เกิดอันตรายในเด็กคือ 20 มก./กก.
0 comments:
Post a Comment