HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Tuesday, August 11, 2009

การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียน

ถ้าผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้และอาเจียนเป็นเวลานานๆ อาจทำให้ร่างกายสูญเสีย body cell mass เกิดภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ หรือมีอาการขาดน้ำ ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนเพยงครั้งคราว ซึ่งเป็นผลจากยาที่ใช้รักษาอยู่ ดังนั้นการพิจารณาเสริมโภชนาการให้ผู้ป่วย จึงต้องดูที่สาเหตุและระยะเวลาที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียน รวมทั้งผลของยาที่ใช้รักษาอยู่
 
ข้อแนะนำ
ควรจัดอาหารที่ย่อยง่ายและหลีกเลี่ยงอาหารมัน มีไขมันสูง มีกลิ่นแรง รสจัด
ตอนเช้าควรเป็นอาหารแห้ง ขนมปังกรอบ  ขนมปังปิ้งหรือนึ่ง หรือเสริมขนมปัง ขนมขบเคี้ยว  ระหว่างมื้ออาหาร
อาจให้ดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่เป็นด่าง  หรือน้ำผลไม้ระหว่างมื้ออาหารได้  แต่ไม่ควรให้ดื่มน้ำหรือน้ำซุปในขณะรับประทานอาหาร
ควรจัดอาหารให้ผู้ป่วยมื้อละน้อยๆ  แต่รับประทานบ่อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารว่าง
ถ้าจำเป็นต้องให้ยาที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน  ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาก้อนมื้ออาหาร
ไม่ควรให้อาหารที่มีรสหวานมาก เพราะจะยิ่งทำให้คลื่นไส้
กลิ่นอาหารบางชนิดอาจทำให้คลื่นไส้ได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการเตรียมอาหารใกล้เวลารับประทานอาหาร
ถ้ามีอาการคลื่นไส้อาเจียนอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์และน้ำหนักตัวลดลงมากกว่า 10 % อาจเสริมโภชนาการผ่านทางสายให้อาหาร โดยให้อาหารที่มีพลังงานสูงและโปรตีนมากพอ และถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นอาจพิจารณาให้อาหารทางหลอดเลือดดำต่อไป
 

การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการอิ่มเร็ว

เนื่องจากระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยบางรายถูกเชื้อเอดส์ทำลาย ทำให้ผู้ป่วยอิ่มง่าย หรืออาจเกิดจากมีลมในท้อง การยืดระยะเวลารับประทานอาหารออกไป มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง หรืออาจเกี่ยวกับปัญหาอื่นทำให้รับประทานอาหารได้ไม่มาก
 
ข้อแนะนำ
เสิร์ฟอาหารทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ควรเป็นอาหารที่เตรียมง่าย
เสริมอาหารที่มีพลังงานสูงในช่วงแรกของมื้ออาหาร
ปรับปรุงท่านั่งให้ตัวตรงขณะรับประทานอาหาร
ลดการล้มตัวลงนอนหลังมื้ออาหาร
ถ้าจำเป็นต้องให้ยาที่ทำให้คลื่นไส้อาเจียน ควรให้ผู้ป่วยรับประทานยาก่อนมื้ออาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารหรือของเหลวที่มีพลังงานต่ำก่อนมื้ออาหาร  เพื่อป้องกันการอิ่มเร็ว
จัดให้มีตารางการรับประทานอาหารที่แน่นอน  เพื่อให้กระเพาะอาหารทำงานสม่ำเสมอ
กระตุ้นให้มีการออกกำลังกาย  เพื่อช่วยย่อยอาหารและช่วยกระตุ้นการเจริญอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  เพราะอาจทำให้อิ่มเร็ว  เนื่องจากต้องใช้เวลาในการย่อย
ควรรับประทานอาหารในตอนเช้า  จะทำให้รับประทานได้มากขึ้น  เนื่องจากกระเพาะอาหารยังว่างอยู่  แต่ผู้ป่วยที่ปกติไม่รับประทานอาหารเช้า  ค่อย ๆ เพิ่มปริมาณอาหารมื้อเช้า  จนกว่าจะรับประทานอาหารได้มากขึ้น
   

0 comments:

Post a Comment


PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

News

ข้อมูลเพิ่มเติม

กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
โทร. 5918411, 5903201

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โทร.5918577, 5901778, 5901783

ขำขำ คลายเครียด

โปรแกรมฟรี + key gen

  © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP