HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Monday, August 10, 2009

ยาต้านไวรัสเอดส์

ยาต้านไวรัสเอดส์

หมายถึง ยาที่สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อหยุดยั้งหรือออกฤทธิ์ต้านการแบ่งตัว การยับยั้งการเกาะจับและเข้าเซลล์ (Interference with attachment and entry)

  • การยับยั้งขบวนการ Reverse Transcription (Inhibition of Reverse Transcription)
  • การยับยั้งขบวนการ Integration (Inhibition of Proviral Integration)
  • การยับยั้ง Transcription
  • การยับยั้ง Post-translation processing


ความรู้เกี่ยวกับยาต้านไวรัสเอดส์


ยาต้านไวรัสเอดส์ที่มีใช้ทางคลินิกในปัจจุบัน (Current Antiretroviral Drug in Clinical Use) ในปัจจุบัน ยาต้านไวรัสเอดส์ที่ได้รับการจดทะเบียนโดย U.S.FDA มีทั้งหมด 11 ชนิด ประกอบด้วยยา 3 กลุ่ม คือ

กลุ่ม Nucleoside analongues Reverse Transcriptase Inhibitors ::


ได้แก่ AZT , ddC , ddI , d4T , 3TC เป็นยาที่สร้างด้วยการทดแทนหรือเปลี่ยนแปลง side chain ของ nucleosides (thymidine, adenosine, cytidine) การออกฤทธิ์ของยากลุ่มนี้ต้องผ่านขบวนการ phosphorylation ภายในเซลล์ให้กลายเป็น mono-, di-, และ triphosphate compound ในที่สุดจึงจะออกฤทธิ์ได้ กลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญ คือ การแย่งจับกับ HIV-RT (inhibitory competitor) และการหยุดยั้งการเรียงต่อของลำดับเบสของDNA (chain terminator) ในกรณีที่ใช้ยากลุ่มนี้เป็นยาเดี่ยวในการรักษา (monotherapy) จะสามารถลดจำนวนเชื้อในพลาสมาลงได้เพียง 0.3-0.7 log10 หรือ น้อยกว่า 10 เท่า ยกตัวอย่างเช่น หากผู้ป่วยมีเชื้อ 100,000 ตัวต่อลบ.ซม.การรักษาด้วยnucleoside RTI monontherapy (เช่น AZT หรือ ddI) ณ ประสิทธิภาพสูงสุดของยา ผู้ป่วยรายนี้ก็ยังคงมีจำนวนเชื้ออยู่ในระดับที่มากกว่า10,000ตัวต่อ ลบ.ซม.และประกอบกับปัญหาการดื้อยาที่จะเกิดขึ้นในที่สุด จึงไม่สามารถ ลดอัตราการเกิดเอดส์และอัตราตายได้


กลุ่ม Nonnucleoside Reverse Transcriptase Inhibitors (NNRTIs) ::


ได้แก่ nevirapine, efaviren ยาในกลุ่ม Nonnucleoside reverse transcriptase inhibitors หรือ NNRTIs นี้เป็นยาที่มีโครงสร้างและสูตรทางเคมีที่แตกต่างกัน แต่มีฤทธิ์แรง (potent) ในการยับยั้งอย่างจำเพาะต่อ revers transcriptase (RT) ของ HIV-1 เท่านั้น ไม่มีผลยับยั้งเอนไซม์ของ HIV-2 hepatitis, herpes virus และเอนไซม์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมแต่อย่างใด และกลไกการออกฤทธิ์แตกต่างจากยาในกลุ่ม nucleoside analogue RT inhibitors (NRTIs) หลายประการ เช่น NNRTIs เป็น active compounds ที่ออกฤทธิ์ได้เลย โดยไม่ต้องผ่านขบวนการ phosphorylation หรือ metabolism อื่นใดอีก


การออกฤทธิ์ของ NNRTIs เป็นแบบ noncompetitive คือไม่มีการแย่งจับแข่งกับ native nucleotidesแต่เป็นการจับHIV-1 RT ตรงบริเวณล่างลงมา (downsteam) จาก catalytic site ยาในกลุ่ม NNRTIs นี้จะถูก metabolize เกือบทั้งสิ้นที่ตับ ข้อดีของยาในกลุ่ม NNRTIs ส่วนใหญ่มีฤทธิ์ยาวสามารถรับประทานเพียงวันเละ 1-2 ครั้งได้เป็นการง่าย (favorable adherence) แต่ข้อเสียคือเกิดการดื้อยารวดเร็วมากโดยเฉพาะเมื่อใช้เดี่ยว ๆ หรือร่วมกับยาในสูตรที่อ่อนหรือล้มเหลวในการรักษามาก่อน และเมื่อเกิดเชื้อดื้อยาจะเกิดการดื้อต่อยาอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ด้วย



ทั้งนี้เนื่องจากยาในกลุ่มนี้มีสูตรโครงสร้างทางเคมีที่แตกต่างกันจริงแต่ตำแหน่งที่จับ (binding pocket) กับเอนไซม์ RTเป็นตำแหน่งเดียวกันหมดนั่นเอง ความน่าสนใจของกลุ่มนี้นอกจากจะใช้เป็นยาตัวหนึ่งในสูตรยาร่วม 3 ชนิด (triple herapy) โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่ยังไม่มีอาการมาก (not advanced) (เพื่อเก็บ protease inhibitors ไว้ใช้ทีหลัง) แล้ว ยา NNRTIs กลุ่มนี้ เช่น nevirapine และ DMP-226 ยานี้ อาจมีประโยชน์ในสูตรรักษาแบบระยะสั้น(short course)ในการป้องกันการติดเชื้อ HIV จากแม่ไปสู่ลูกได้ซึ่งต้องรอผลการศึกษาที่กำลังดำเนินในต่างประเทศต่อไป



กลุ่ม HIV-1 Protease Inhibitors ::


ได้แก่ saquinavir (hard capsule, soft gel capsule), indinavir, ritonavir และ nelfinavir HIV-1 protease เป็น enzyme ของเชื้อ HIV-1 ซึ่งประกอบด้วยโปรตีน 2 สายที่เหมือกัน (symmetrical isomer) ประกอบด้วยกรดอะมิโน (amino acids) 99 ตัว มีหน้าที่สำคัญเกี่ยวกับการตัดย่อย gag-pol polypeptide precursor เพื่อทำให้ immature HIV-1 กลายเป็น mature infectious ภายหลังการประกอบรูปร่างไวรัสแล้ว หลายปีที่ผ่านมาจึงมีการพยายามคิดค้นยาเพื่อยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อ HIV โดยออกฤทธิ์ยับยั้ง HIV-1 protease เรียกยากลุ่มนี้ว่า protease inhibitors (PI) ทั้งโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง 3 มิติ (3-dimensional tructure) ของ HIV-1 protease และการออกแบบโครงสร้าง inhibitor ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (computer modeling) ทำให้มียา protease inhibitors เกิดขึ้นหลายตัว อย่างไรก็ตามยารุ่นแรก ๆ ส่วนใหญ่เป็น petide-based compounds ทำให้มีปัญหาเรื่องการดูดซึม (oral absorption), rapid biliary clearance, poor stability และค่าใช้จ่ายสูงในการผลิต ปัจจุบันยา protease inhibitors รุ่นที่ 2 (second-generation) จะเน้นโครงสร้างเป็น partially peptidic หรือ nonpeptidic ทั้งนี้เพื่อเพิ่มการดูดซึม (bioavailability) นั่นเอง





รายชื่อยาต้านไวรัสเอดส์ที่อยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4 และ 5) ::


ตามประกาศคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ที่ 1/2546 เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 4) เพื่อให้บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 มีการแก้ไขเพิ่มเติมตามสภาพของปัญหา สุขภาพ วิทยาการและข้อมูลเกี่ยวกับยาที่เปลี่ยนแปลงไป คณะกรรมการแห่งชาติด้านยาจึงออกประกาศให้ปรับปรุงรายการยาในแต่ละกลุ่มยาไว้ ดังต่อไปนี้

1. ให้เพิ่มรายการยากลุ่มที่ 2.7 Antivirals ของบัญชียาสำหรับโรงพยายาลและสถานบริการสาธารณสุข ดังนี้

ที่ ชื่อสามัญ รูปแบบ

1.1 Efavirenz (EFV)ขนาด 200 mg
capsule

1.2 Indinavir (as sulfate) (IDV) ขนาด 200 mg, 400 mg.
capsule

1.3 Lamivudine (3TC)ขนาด 150 mg./ tablet, 10 mg/ml
tablet, syrup

1.4 Nelfinavir (as mesylate) 250 mg. (NEF)
tablet

1.5 Nevirapine (NVP)ขนาด 200 mg./tablet, 10 mg/ml
tablet, suspension

1.6 Ritonavir (RTV)ขนาด 100 mg, 80 mg/ml
capsule, oral solution

1.7 Saquinavir (as mesylate) 200 mg (SQV)
capsule

1.8 Stavudine (d4T) ขนาด 20,30,40 mg
capsule




2. ให้ยาตามข้อ 1. เป็นยาในบัญชี จ. ที่ใช้ใน “โครงการพัฒนาระบบบริการและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยยาต้านใวรัสเอดส์ในประเทศไทย” ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เท่านั้น ประกาศ ณ วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ.2546 และได้มีการประกาศเพิ่มเติมจากคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา ที่ 1/2547 เรื่อง บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ.2542 (แก้ไขเพิ่มเติมครั้งที่ 5) เพื่อออกประกาศให้ปรับปรุงรายการยาในแต่ละกลุ่มยา ดังต่อไปนี้

ให้เพิ่มรายการยากลุ่มที่ 2.7 Antivirals ของบัญชียาสำหรับโรงพยาบาล และสถานบริการสาธารณสุข ดังนี้
ที่ ชื่อสามัญ รูปแบบ
1.1 Nevirapine 200 mg. + Lamivudine 150 mg. + Stavudine 30 mg (GPO – vir S30) Tablet
1.2 Nevirapine 200 mg. + Lamivudine 150 mg. + Stavudine 40 mg (GPO – vir S40) Tablet


ให้ยาตามข้อ 1. เป็นยาในบัญชี จ. ที่ใช้ใน “โครงการพัฒนาระบบบริการและติดตามผลการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยโรคเอดส์ด้วยยาต้านไวรัสเอดส์ ในประเทศไทย” ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เท่านั้น

ประกาศ ณ วันที่ 29 มกราคม 2547



0 comments:

Post a Comment


PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

News

ข้อมูลเพิ่มเติม

กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
โทร. 5918411, 5903201

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โทร.5918577, 5901778, 5901783

ขำขำ คลายเครียด

โปรแกรมฟรี + key gen

  © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP