HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Tuesday, August 11, 2009

การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการเบื่ออาหาร

 
การเป็นแผลและเจ็บในช่องปาก

  • ในช่องปากและหลอดอาหารของผู้ป่วยอาจติดเชื้อรา kaposi' s sarcoma หรือเริมได้ ทำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ลำบากขึ้น การดัดแปลงลักษณะของอาหารให้อาหารเป็นเนื้อเดียวกัน และทำให้อาหารมีอุณหภูมิที่เหมาะสม จะทำให้ผู้ป่วยรับประทานได้มากขึ้น โดยไม่ทำให้เจ็บปวดหรือรู้สึกระคายเคืองทางเดินอาหาร ถ้าผู้ป่วยรับประทานอาหารไม่ได้ติดต่อกันนานเกิน 3 วัน ควรให้อาหารทางสายให้อาหารเป็นระยะ
 

ข้อแนะนำ
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด เช่น เค็มจัด เผ็ดจัด เปรี้ยว ตลอดจนอาหรที่มีความแข็งกระด้าง เพราะจะระคายเคืองเยื่อบุในช่องปากและหลอด
 
อาหาร โดยเลือกพิจารณาว่า ผู้ป่วยจะเลือกรับประทานอาหารประเภทใดบ้าง
อาหารที่เสิร์ฟควรจะเย็น เพื่อลดความเจ็บปวด
เสริมอาหารที่มีแคลอรี่สูง กลืนง่าย เช่น ของเหลวที่มีพลังงานสูง (เช่น นม อาหารชนิดน้ำ น้ำผึ้ง น้ำหวาน) อาหารเด็กอ่อน อาหารปั่น
 
อาจให้ยาระงับอาการเจ็บปวดก่อนรับประทานอาหารเพื่อลดความเจ็บปวดขณะกลินอาหาร
ใช้หลอดดูดอาหารเหลว เพื่อลดการระคายเคืองแผล และทำให้กลืนง่าย
ถ้าน้ำลายแห้งหรือน้ำลายน้อย อาจใช้ลูกอมที่มีรสเปรี้ยว รสมินท์ เพื่อกระตุ้นการการทำงานของต่อมน้ำลาย
ผู้ป่วยควรรักษาสุขภาพและความสะอาดของฟันและช่องปากให้ดี เพื่อจะได้รับประทานอาหารได้มากๆ เช่น บางคนฟันปลอมที่ใช้อยู่อาจ
 
หลวม  จนไปกดเหงือกทำให้เจ็บหรือเป็นแผล ทำให้รับประทานอาหารได้น้อยลง
 
อาการกลืนอาหารลำบาก
การเสริมโภชนาการสำหรับผู้ป่วยเอดส์ทีมีอาหารในช่องปากและหลอดอาหาร
  •  เป็นอาการที่พบได้บ่อย อาจเกิดร่วมกับการเจ็บในปากหรือหลอดอาหาร หรือมีภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบประสาท เนื่องจากการติดเชื้อเอดส์
 
ข้อแนะนำ
การแหงนศีรษะเล็กน้อยขณะกลืน จะช่วยทำให้กลืนอาหารสะดวกขึ้น
ควรรับประทานอาหารเหลวข้น เช่น ข้าวตุ๋นข้นๆ อาหารที่มีส่วนประกอบของนมผง มันฝรั่งบด แป้งข้าวโพด เป็นต้น
ควรรับประทานอาหารที่มีลักษณะกึ่งแข็ง เพื่อป้องกันการสำลักอาหาร อาหารหรือส่วนผสมควรจะเป็นเนื้อเดียวกันและสามารถเกาะกัน
 
เป็นก้อนในปากและหลอดอาหารได้
 
ไม่ควรรับประทานอาหารที่เหนียวจนติดเพดานปากได้ง่าย เช่น ถั่ว เนย ขนมปังขาว และอาหารลื่น ๆ พวกมักกะโรนี ก๋วยเตี๋ยว (แต่ถ้าผู้
 
ป่วยรับประทานได้ไม่ควรงด)
 
ควรหลีกเลี่ยงอาหารเหลวใส เพราะอาจจะทำให้สำลักได้
 
การให้ผู้ป่วยดื่มน้ำเล็กน้อยระหว่างการรับประทานอาหาร จะช่วยเคี้ยวอาหารและกลืนอาหารได้สะดวกขึ้น
 
ถ้าผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืนมาก อาจจำเป็นต้องให้อาหารทางสายให้อาหาร
 ตาราง อาหารที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปากและหลอดอาหาร
อาการ 
อาหารรสเปรี้ยว
อุณหภูมิของอาหาร
ลักษณะของอาหาร
การเพิ่มรสชาติของอาหาร 
แผลในช่องปาก
หลีกเลี่ยงรสเปรี้ยว
หลีกเลี่ยงอุณหภูมิสูง
ไม่เหนียว
ลดการใช้เครื่องเทศเกลือ
รับรสไม่ดี
ควรใช้เพื่อละลาย
ควรมีอุณหภูมิสูง
ทุกแบบ
ให้มีรสจัดเพื่อกระตุ้น
หลอดอาหารอุดตัน
หลีกเลี่ยงถ้ามีแผล
-
นุ่มกลืนง่าย เหลวขึ้น
ลดเผ็ดร้อนเพราะระคายเคืองแผล
มีการกลืนผิดปกติ
-
อุณหภูมิสูง หรือเย็น
หลีกเลี่ยง ของเหลวของแข็ง
ให้มีรสจัดเพื่อกระตุ้นการรับรส
 
 
เพื่อกระตุ้นการรับรส
อาหารเหนียวอาหารลื่น
 
การรับรสอาหารได้น้อยลง
  • อาจเนื่องจากยา  การมีเสมหะหรือน้ำลายมาก ปากแห้ง การขาดสารอาหารบางอย่าง
  • ข้อแนะนำ

    ควรปรับอุณหภูมิของอาหาร เช่น อุ่นอาหาร หรือปรับปรุงลักษณะของอาหาร เพื่อ

    กระตุ้นการรับรส ความรู้สึกอยากอาหาร และการหลั่งน้ำลาย
     
    การดื่มน้ำเล็กน้อย (อาจเป็นน้ำผลไม้) ระหว่างรับประทานอาหารจะช่วยกระตุ้นการหลั่งน้ำลายได้
     
    อาหารรสจัดและเผ็ดพอควรหรือใส่เครื่องเทศบางชนิด จะช่วยทำให้อาหารน่ารับประทานมากขึ้น
     
    ทดลองอาหารใหม่ ๆ รสชาติใหม่ ๆ อาจทำให้อยากรับประทานมากขึ้น
     
    เสริมอาหารบางชนิดซึ่งให้รสชาติขณะอยู่ในปาก เช่น ผลไม้ ลูกอม จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารได้
     
    รักษาสุขภาพช่องปาก โดยใช้แปรงทำความสะอาดฟัน เหงือก ลิ้น

    การเสริมสารสังกะสีในขนาดไม่เกินที่ร่างกายต้องการ อาจจะช่วยในการรับรสดีขึ้น
     ตาราง อาหารที่แนะนำสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปากและหลอดอาหาร
    อาการ 
    อาหารรสเปรี้ยว
    อุณหภูมิของอาหาร
    ลักษณะของอาหาร
    การเพิ่มรสชาติของอาหาร 
    แผลในช่องปาก
    หลีกเลี่ยงรสเปรี้ยว
    หลีกเลี่ยงอุณหภูมิสูง
    ไม่เหนียว
    ลดการใช้เครื่องเทศเกลือ
    รับรสไม่ดี
    ควรใช้เพื่อละลาย
    ควรมีอุณหภูมิสูง
    ทุกแบบ
    ให้มีรสจัดเพื่อกระตุ้น
    หลอดอาหารอุดตัน
    หลีกเลี่ยงถ้ามีแผล
    -
    นุ่มกลืนง่าย เหลวขึ้น
    ลดเผ็ดร้อนเพราะระคายเคืองแผล
    มีการกลืนผิดปกติ
    -
    อุณหภูมิสูง หรือเย็น
    หลีกเลี่ยง ของเหลวของแข็ง
    ให้มีรสจัดเพื่อกระตุ้นการรับรส
     
     
    เพื่อกระตุ้นการรับรส
    อาหารเหนียวอาหารลื่น
     

    0 comments:

    Post a Comment


    PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

    ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


    เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


    หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

    PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

    News

    ข้อมูลเพิ่มเติม

    กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
    โทร. 5918411, 5903201

    กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
    โทร.5918577, 5901778, 5901783

    ขำขำ คลายเครียด

    โปรแกรมฟรี + key gen

      © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

    Back to TOP