HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV

Monday, August 10, 2009

อาการแสดงตามเกณฑ์ของศูนย์ควบคุมโรค สหรัฐอเมริกา

ผู้ติดเชื้อเอดส์จะมีอาการแสดงของโรคแตกต่างกัน ตั้งแต่ไม่มีอาการผิดปกติจนถึงอาการของโรคมะเร็ง หรือโรค ติดเชื้อที่ร้ายแรงและเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย และระยะเวลาตามการเปลี่ยนแปลง จากพยาธิสภาพหลังการติดเชื้อ

ผู้ได้รับเชื้อเอดส์โดยไม่มีอาการและจัดอยู่ในระยะ early stages เพียงร้อยละ 10 เท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงตาม ขั้นตอนจนกระทั่งถึงขั้น "Fullblown" และจัดเป็นโรคเอดส์โดยสมบูรณ์ และระยะเวลาตั้งแต่เริ่มรับเชื้อเอดส์จนมี อาการครบถึงขั้นเป็นโรคเอดส์นั้นยาวนานถึง 10 ปี เชื้อเอดส์ทำอันตรายเฉพาะ CD4 (helper/Inducer) lymphocytes โดยลำดับ ซึ่งมีหน้าที่สำคัญของระบบภูมิต้านทานในร่างกาย ดังนั้นการดำเนินการของโรคจึงมีตั้งแต่ขั้น asymptomatic state ซึ่งระบบภูมิต้านทานคนปกติจนกระทั่งเสื่อมช้า ๆ และจนไม่อาจทำหน้าที่ได้โดยสิ้นเชิง ซึ่งช่วงนี้เองที่มีการติดเชื้อ อื่น ๆ ที่คอยฉวยโอกาสที่ร่างกายตกอยู่ในภาวะเพลี่ยงพล้ำ ติดตามด้วยมะเร็งบางชนิด จนในที่สุดอาการแสดงอื่น ๆ ของโรคเอดส์ปรากฏเด่นชัด

ดังนั้นผู้ที่ได้รับการตรวจยืนยันว่ามีการติดเชื้อเอดส์ ไม่จำเป็นต้องกังวล เพราะโอกาสที่การติดเชื้อนั้น จะดำเนินต่อไป จนเป็นโรคนั้นมีเพียง 10 % และถ้าโชคร้ายเกิดการติดเชื้อ การติดเชื้อนี้จะดำเนินไปกว่าจะแสดงอาการเป็นโรคเอดส์ ต้องใช้เวลานานถึง 10 ปี ซึ่งช่วงระยะเวลาเหล่านี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างรวดเร็ว เพียงแต่ไม่ให้มี การติดเชื้อที่คอยจังหวะซ้ำเติม จึงสามารถยืดเวลาออกไปได้อีกนาน และดำเนินชีวิตเหมือนคนทั่วไปได้
แต่เดิมมาศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกา ได้แบ่งระยะต่าง ๆ ของการติดเชื้อเอชไอวี ออกเป็น 4 ระยะ ) คือ

ระยะที่ 1 : ระยะติดเชื้ออย่างเฉียบพลัน (acute HIV infection)
2-3 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อเอชไอวี จะมีอาการคล้ายไข้หวัด ต่อมน้ำเหลืองโต (glandular fever-like illness)และอาจมีอาการของ encephalitis, meningitis, myelopathy และ neuropathy อาการต่าง ๆ เหล่านี้หายไปได้เองภายใน1-2 สัปดาห์ โดยที่อาจมีอาการน้อยมากจนผู้ป่วยไม่สังเกตุ คิดว่าเป็นไข้หวัดธรรมดาก็ได้

ระยะที่ 2 : ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ (asymptomatic infection)
คนไข้จะไม่มีอาการอะไรเลย แต่ถ้าเจาะเลือดตรวจ จะพบมีแอนติบอดีต่อเชิ้อเอชไอวี โดยจะมีเลือดเอดส์บวกไปตลอดชีวิต แอนติบอดีหรือภูมิคุ้นเคยต่อไวรัสเอดส์จะเริ่มพบประมาณ 6-8 สัปดาห์หลังได้รับเชื้อ แต่อาจเนิ่นนานออกไปถึง 3 เดือนก็ได้ ดังนั้นโดยทั่วไปถ้าเลย 6 เดือนไปแล้ว แอนติบอดีต่อเชิ้อเอชไอวียังให้ผลลบอยู่หลัง exposeต่อเชื้อเอชไอวีเพียงครั้งเดียว ก็ค่อนข้างมั่นใจได้ว่าไม่มีการติดเชื้อโรคเอดส์ อย่างไรก็ตามมีรายงานในกลุ่มชายรักร่วมเพศในอเมริกาว่าอาจต้องรอไปนานถึง 3 ปี แอนติบอดีต่อเชิ้อเอชไอวีจึงจะให้ผลบวก

ระยะที่ 3 : ระยะต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป (persistent generalised lymphadenopathy,(PGL)
ระยะนี้จะเกิดหลังได้รับเชิ้อเอชไอวีนานเท่าไรยังไม่ทราบชัด คนไข้เองก็ไม่มีอาการอะไร แต่ถ้าตรวจร่างกายจะพบต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว ศูนย์ควบคุมโรคของสหรัฐอเมริกาให้คำจำกัดความของ PGL ว่า ต้องเป็นต่อมน้ำเหลืองตั้งแต่ 2 บริเวณขึ้นไป โดยไม่นับรวมต่อมน้ำเหลืองที่บริเวณขาหนีบ และต่อมน้ำเหลือง 2 บริเวณนี้จะต้อง ไม่เป็น draining chain ซึ่งกันและกัน ต่อมน้ำเหลืองที่โตนี้จะต้องมีขนาดตั้งแต่ 1 ซม. ขึ้นไป และจะต้องโตอยู่นานเกิน 1 เดือน ถ้าตัดชิ้นเนื้อของต่อมน้ำเหลืองไปตรวจจะไม่พบพยาธิสภาพอะไร คือไม่ใช่มีการติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งของต่อมน้ำเหลือง แต่มีลักษณะเป็นแบบ reactive hyperpasia

ระยะที่ 4 : ระยะติดเชื้อมีอาการ (symptomatic HIV infection)
เป็นระยะของการติดเชิ้อเอชไอวีซึ่งมีอาการ แบ่งย่อยได้เป็น : -
ระยะที่ 4-A : Constitutional disease
ตรงกับระยะ AIDS related complex (ARC) เดิม คือมีอาการน้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ (ลดเกิน 10 % ของน้ำหนักดั้งเดิม หรือเกิน 10 กิโลกรัม หรือ 15 ปอนด์) ไข้ (เกิน 38 องศาเซลเซียส ) เรื้อรัง (เกิน 4 สัปดาห์) โดยไม่ทราบสาเหตุ ท้องเสียเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุ เหงื่อออกตอนกลางคืนโดยไม่ทราบสาเหตุ เชื้อราในช่องปาก (oral candidiasis) งูสวัด (Herpes Zoster)

ระยะ 4-B : Neurological disease
โดยอาการเป็นเรื่องของหลงลืมง่าย มีอาการทางจิตประสาท หรือมีอาการทาง encephalitis, meningitis,myelopathy และ neuropathy คือมีอาการได้ทุกอย่างของระบบประสาทส่วนกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า“HIV encephalopathy” หรือ “AIDS demantia” ลักษณะของสมองเหี่ยว (brain atrophy) เป็นลักษณะทางเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ที่พบบ่อยที่สุด

ระยะที่ 4-C : Secondary infectious disease

4-C-1 : Specified secondary infectious disease listed in CDC surveillance definition
4-C-2 : Other unspecified secondary infectious disease คือโรคติดเชื้อฉวยโอกาสอื่น ๆ ที่มิได้รวมอยู่ใน surveillance definition เดิม

ระยะที่ 4-D : Secondary cancers
มะเร็งส่วนใหญ่ที่พบคือ Kaposi’s sarcoma ส่วนน้อยอาจเป็น primary central nevous system lymphomaและ non-Hodgkin’s disease

ระยะที่ 4-E : Other conditions
กลุ่มนี้สำหรับผู้ป่วยที่ไม่สามารถจัดเข้าไว้ในทั้ง 4 กลุ่มข้างต้น เช่น มีโรคติดเชื้อที่ไม่ได้ระบุในกลุ่ม 4C หรือมีอาการนอกเหนือที่ระบุในกลุ่ม 4A เป็นต้น

การที่แบ่งการติดเชื้อ HIV ออกเป็นระยะต่าง ๆ เช่นนี้ เพราะ severity ต่างกัน คนที่เป็นระยะที่ 4 จะมีความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน มากกว่าคนที่เป็นระยะที่ 3 และ 2 ตามลำดับ

0 comments:

Post a Comment


PHA : People living with HIV and AIDS In Thailand.

ข่าวเด่นกระทรวงสาธารณสุข


เกาะสถานการณ์สาธารณสุข


หยุดสร้างบุญบนธุรกิจบาป ยุติธุรกิจเด็กขอทาน

PANTIP.COM : Cafe โต๊ะสวนลุมพินี

News

ข้อมูลเพิ่มเติม

กองโรคเอดส์ กรมควบคุมโรคติดต่อ
โทร. 5918411, 5903201

กองระบาดวิทยา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
โทร.5918577, 5901778, 5901783

ขำขำ คลายเครียด

โปรแกรมฟรี + key gen

  © Blogger template Blue Surfing by Ourblogtemplates.com 2008

Back to TOP