การตรวจหาการติดเชื้อเอดส์
สามารถตรวจหาการติดเชื้อเอดส์ ได้จาก
การซักประวัติและการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะผู้มีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น Homosexual Bisexual, Addiction ฯลฯ ซึ่งเป็นการคาดเดา
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ซึ่งมีอยู่หลายวิธี หลังจากไดัรับเชื้อ HIV เข้าสู่ร่างกายประมาณ2-3 สัปดาห์ จึงจะมีอาการแสดงออกแบบชนิดเฉียบพลัน (acute retroviral syndrome) คือจะมีอาการไข้ เจ็บคอ ต่อมน้ำเหลืองโต มีอาการเหมือนเป็นไข้หวัด (acute infection mononucleosis-like illness) ซึ่งจะมีอาการอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ช่วงนี้เป็นช่วงที่มีเชื้อไวรัส (viremia) และตรวจพบแอนติเจน (antigenemia) ได้ ซึ่งอาจมีเวลา 2-6 สัปดาห์เท่านั้น หลังจากนั้นอีกระยะหนึ่งจึงจะเริ่มตรวจพบแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV (anti-HIV) ในกระแสเลือด นอกจากนี้ยังมีผู้ป่วยอีกจำนวนมากอาจจะไม่มีอาการอะไรเลยในช่วงที่มีเชื้อไวรัสและแอนติเจน
ดังนั้นหลังจากได้รับเชื้อ HIV ร่างกายจะสร้างแอนติบอดีตอบสนอง และตรวจพบในซีรั่ม ตั้งแต่ระยะแรกของการติดเชื้อจนถึงระยะที่มีอาการโรคเอดส์ ระยะหลังติดเชื้อจนถึงตรวจพบแอนติบอดีใช้เวลานาน 3-12 สัปดาห์ (ส่วนใหญ่ประมาณ8 สัปดาห์) บางรายอาจนานถึง 6 เดือน เรียกช่วงที่ก่อนตรวจพบแอนติบอดีนี้ว่า "window period" ในระยะ window period นี้หากต้องการตรวจว่ามีการติดเชื้อ HIV หรือไม่ อาจใช้วิธีการตรวจหาแอนติเจนช่วย
วิธีการตรวจเพื่อบ่งบอกการติดเชื้อ
การตรวจเพื่อบ่งบอกการติดเชื้อ HIV นั้น มี 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
1 Indirect method เป็นการตรวจภูมิคุ้มกันที่ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อไวรัส ก็คือ การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV
2 Direct method เป็นการตรวจหาตัวเชื้อไวรัสโดยตรง ส่วนใหญ่ยังเป็นวิธีที่ใช้ในการศึกษาวิจัย และมีข้อจำกัดในการใช้อยู่ ได้แก่ การตรวจหาแอนติเจนชนิด p24 และการตรวจหายีโนมไวรัส
วิธีการตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV
การตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ HIV เป็นวิธีที่ใช้ทั่วไป แอนติเจนที่ใช้ตรวจหาแอนติบอดีอาจเป็นแอนติเจนของเชื้อไวรัสที่สกัดจากการเพาะเลี้ยงในเซลล์ หรือเป็นแอนติเจนที่เป็นโปรตีนที่สร้างโดยยีนจำเพาะของไวรัส เตรียมด้วยวิธีพันธุวิศวกรรม หรือเป็นแอนติเจนที่ได้จากการสังเคราะห์เปปไทด์ซึ่งน้ำยาส่วนใหญ่จะประกอบด้วย แอนติเจนจำเพาะส่วนที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาก (conserved region) ของcore antigen (p24) และส่วนของ gp41 หรือ gp120 ของเชื้ออ HIV-1 และส่วน gp36 ของเชื้อ HIV-2
วิธีการตรวจจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ
1 การตรวจกรองเบื้องต้น (Screening test)
วิธีทดสอบได้แก่ วิธีอีไลซ่า (ELISA), วิธี gelatin particleagglutination (GPA)
2 การตรวจยืนยัน (Confirmatory test)
2 การตรวจยืนยัน (Confirmatory test)
วิธีทดสอบยืนยันที่ใช้อยู่มี 2 วิธี คือ immunoblot และ immunofluorescent assay (IFA) แต่ที่นิยมใช้ในขณะนี้คือ immunoblot หรือเรียกว่า western blot (WB)
การตรวจหาแอนติเจน (p24 antigen)
p24 antigen เป็นโปรตีนที่อยู่ในส่วนแกน (core protein) ของเชื้อ HIV ซึ่งจะมีการสังเคราะห์ขี้น ในเซลล์ที่มีการติดเชื้อ HIV และปล่อยออกมาสู่กระแสเลือดในระยะเริ่มแรกของการติดเชื้อ และระยะท้าย ๆ ของการดำเนินโรคเอดส์ ทำให้สามารถตรวจ p24 antigen ได้ในเลือดของผู้มีการติดเชื้อ HIV ซึ่งจะมีรูปแบบของแอนติเจนในกระแสเลือดได้ 4 ลักษณะ คือ
1 พบทั้งแอนติเจนอิสระ (free antigen) และ แอนติเจนอยู่รวมกับแอนติบอดี (antigen-antibody complex)
2 ไม่พบแอนติเจนในรูปแบบอิสระในระยะแรก แต่จะมีแอนติเจนรวมอยู่กับแอนติบอดี
3 พบแต่แอนติเจนอิสระ แต่ไม่พบแอนติเจนอยู่รวมกับแอนติบอดี
4 ไม่พบทั้งแอนติเจนอิสระและแอนติเจนอยู่รวมกับแอนติบอดี
นอกจากรูปแบบที่แตกต่างกันทั้ง 4 อย่างนี้แล้ว ยังพบว่าระดับแอนติเจนชนิด p24 ในกระแสเลือดยังมีการเเปลี่ยนแปลงระดับขึ้น ๆ ลง ๆ (fluctuation) ได้ในเวลาที่ต่างกัน ซึ่งทำให้เกิดความสับสนในการตรวจหา และแปรผลที่ได้
ในปัจจุบันเทคนิคการตรวจแอนติเจนที่ใช้อยู่คือ วิธีอีไลซ่า (ELISA, enzyme-linked immunosorbent assay) เท่านั้น ซึ่งสามารถตรวจหาแอนติเจนอิสระได้ดี แต่ยังไม่มีความไวพอในการตรวจหาแอนติเจนที่อยู่รวมกับแอนติบอดีจึงจะต้องมีเทคนิคที่จะแยกแอนติเจนออกจากแอนติบอดีเสียก่อนที่จะมาทำการตรวจ (immune complex dissociation, ICD) น้ำยาที่ใช้ตรวจหาแอนติเจนมีอยู่หลายบริษัท ได้แก่ Abbott, Coulter, Diagnostic Pasteur และ Organon
การตรวจหายีโนมของไวรัส
การตรวจหายีโนมของไวรัสเป็นการตรวจหายีนหรือกรดนิวคลิอิก ซึ่งอาจตรวจหาไวรัส RNA หรือ proviralDNA วิธีเดิมที่ใช้คือการทำ hybridization ซึ่งพบว่าไวไม่เพียงพอ ในปัจจุบันพบว่าวิธีที่ดีที่สุดคือ การตรวจหา proviralDNA ด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่โพลีเมอเรส (polymerase chain reaction, PCR)
0 comments:
Post a Comment