HIV DATA เอดส์ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มารู้จักโรคเอดส์ การป้องกัน และอยู่ร่วมกันกับเชื้อ HIV
ท้องเสียเป็นอาการที่พบบ่อย อาจเกิดจาการดูดซึมอาหารลดลงเพราะ Villi ของลำไส้ผิดปกติ หรือเยื่อบุทางเดินอาหารถูกทำลายและมีการหลั่งกรดในกระเพาะลดลง ทำให้ติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อราง่ายขึ้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อในกระแสเลือดด้วย และอาจมีการติดเชื้อโปรโตซัว หรือเป็นเนื้องอก นอกจากนี้อาจเกิดจากความเครียดหรือยาที่ผู้ป่วยใช่อยู่ |
|
ท้องเสียของผู้ป่วยเอดส์ สามารถแบ่งเป็น 4 แบบ |
| การมีพยาธิสภาพของลำไส้เล็กทั้งหมด | | สาเหตุส่วนใหญ่จากโปรโตซัว ซึ่งเดิมพบในลำไส้ของสัตว์(ปลา) แล้วปนเปื้อนในน้ำดื่ม ส่วนเชื้อ Microsporidium พบได้น้อยกว่า ทำให้มีอาการคล้ายไข้หวัดในตอนแรก ร่วมกับท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ ปริมาตรอุจจาระจะสัมพันธ์กับอาหารที่รับประทานโดย เฉพาะอาหารพวกไขมัน ทำให้ร่างกายดูดซึมอาหารได้น้อย มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ 4-8 ครั้งต่อวัน | | การเสริมโภชนาการ | | เนื่องจากผู้ป่วยมีพยาธิสภาพขิงลำไส้เล็กทั้งหมด จึงมีการดูดซึมอาหารลดลงมาก จึงจำเป็นต้องให้สารอาหารทางหลอดเลือดดำทันที เมื่อมีอาการดีขึ้นจึงให้สารอาหารทางสายให้อาหารผ่านระบบทางเดินอาหารโดยให้อาหารที่มีไขมันน้อยกว่า 5 % ปราศจากแลคโตส และควรตรวจระดับ serum albumin เพื่อควบคุมภาวะ hypoalbuminemia ซึ่งทำให้เกิดอาการบวมและท้องเสีย โดยจัดให้มีสารอาหารซึ่งมีไนโตรเจนเพียงพอ นอกจากนี้สารอาหารบางชนิด เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม เหล็ก โฟลิค วิตามินที่ละลายในไขมัน (วิตามิน A, D, E, K) จะไม่ถูกดูดซึม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องเสริมวิตามินและเกลือแร่ดังกล่าว | | การมีพยาธิสภาพของลำไส้เล็กบางส่วน | | มีการดูดซึมอาหารผิดปกติในลำไส้บางส่วน เช่น Ileum ทำให้เกิดอาการท้องเสียเป็นช่วง ๆ และจะเป็นมากในตอนเช้า ในช่วงแรกเกิดจากเกลือน้ำดี อาการท้องเสียจะเป็ยมากขึ้น เมื่อผู้ป่วยรับปประทานอาหารมากขึ้น การสูญเสียอาหารรุนแรงน้อยกว่าแบบแรก เช่น สูญเสียเกลือแร่ สารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน B12 | | การเสริมโภชนาการ | | ควรจัดอาหารให้ผู้ป่วยครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง โดยวันแรก ๆ ควรได้รับพลังงานที่เพียงพอ เป็นปริมาณอาหารที่มีไขมันต่ำ (มีปริมาณไขมันน้อยกว่า 5%) เพื่อลดการหมุนเวียนของเกลือน้ำดี เพราะถ้า Ileum ทำงานน้อยลง เกลือน้ำดีซึ่งเข้ามาในลำไส้จะทำให้เกิดอาการท้องเสียจากกรดไขมัน มีแลคโตสต่ำ ไม่มีคาเฟอีน แอลกอฮอล์ เพราะคาเฟอีนและแอลกอฮอล์มีค่าน้อย และเร่งการขับปัสสาวะทำให้สูญเสียน้ำในร่างกายและควรเสรมวิตามินเกลือแร่ด้วย | | การมีพยาธิสภาพของลำไส้ใหญ่ | | สาเหตุที่พบบ่อยอาจเกิดจากเชื้อไวรัส Cytomegalovirus ทำให้อักเสบที่ Colon หรือเป็นแผลเดี่ยว ๆ หลายแผลที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของระบบทางเดินอาหาร การติดเชื้อแบคทีเรียที่พบบ่อยเช่น Salmonella หรือ Mycobacterium อาจทำให้ติดเชื้อในกระแสเลือดได้ การติดโปรโตซัว ซึ่งพบได้บ่อยในชายรักร่วมเพศ และอาจเกิดจากมะเร็ง มีอาการอักเสบทั่วไปเรื้อรัง ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร่างกายไม่ได้รับสารอาหาร มีการเคลื่อนไหวลำไส้ได้น้อย อาการท้องเสียจะรุนแรงขึ้นเมื่อรับประทานอาหาร ผู้ป่วยจึงไม่อยากรับประทานอาหาร ทำให้ภาวะทุพโภชนาการยิ่งรุนแรงมากขึ้น | | การเสริมโภชนาการ | | ควรจัดอาหารให้ผู้ป่วยรับประทานทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง อาหารที่ให้ควรมีเส้นใย กากอาหาร แลตโตส ไขมัน คาเฟอีน ในปริมาณต่ำ เพื่อลดการเคลื่อนไหวของลำไส้ | | การมีพยาธิสภาพของลำไส้ที่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจง | | จะตรวจไม่พบเชื้อที่เป็นสาเหตุ พบว่าลำไส้มีการบีบตัวมากกว่าปกติ แต่ไม่สัมพันธ์กับอาหารที่รับประทานเข้าไป บางครั้งอาจมีการปวดท้องตอนเช้าและเย็นและถ่าย อาจมีอาการระคายเคืองบริเวณลำไส้บ้าง ผู้ป่วยยังคงเจริญอาหาร อาจมีการดูดซึมอาหารผิดปกติเล็กน้อย มีน้ำหนักตัวลดลงบ้าง | | การเสริมโภชนาการ | | ให้อาหารที่มีกากเพิ่มมากขึ้น เช่น รำข้าว เพคติน เมล็ดแมลงลัก Metamucil ทั้งนี้ เพื่อทำให้อุจจาระแข็งตัวขึ้น ควรเสริมอาหารที่ให้ทางระบบทางเดินอาหาร ถ้ามีอาการมากขึ้นใน 2-3 วันให้เปลี่ยนเป็นสูตรอาหารที่มีความซับซ้อนย้อยลง ถ้าผู้ป่วยยังสามารถรับประทานอาหารได้ ควรให้รับประทานเพื่อให้การทำงานของลำไส้เป็นปกติ เพราะเยื่อบุลำไส้จะฝ่อตัวได้ ถ้าผู้ป่วยไม่รับประทานอาหารเป็นเวลานาน ๆ | ตารางที่ 4 สรุปพยาธิสภาพของระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วยเอดส์และแนวทางการเสริมโภชนาการ | อาการ | อาหารดัดแปลง | อาหารสูตร Enteral Formula | พยาธิสภาพลำไส้เล็กทั้งหมด | ไขมันน้อยกว่า 20% มีเส้นใยต่ำ มีกากอาหารต่ำ ไม่มีแลคโตส คาเฟอีน | มีกากอาหารต่ำ มีแลคโตสต่ำ มีไขมันน้อยกว่า 5% | พยาธิสภาพลำไส้เล็กบางส่วน | ไขมันน้อยกว่า 20% มีกากอาหารต่ำ มีแลคโตสต่ำ หลีกเลี่ยงคาเฟอีน | มีกากอาหารต่ำ มีแลคโตสต่ำ มีไขมันร้อยกว่า 5 % มีเส้นใยต่ำ | พยาธิสภาพของลำไส้ใหญ่ | ไขมันต่ำหรือ MCT* มีกากอาหารต่ำ มีเส้นใยต่ำ มีแลคโตสต่ำ หลีกเลี่ยงคาเฟอีน | มีกากอาหารต่ำ มีแลคโตสต่ำ มีไขมันต่ำเท่าที่รับได้ มีเส้นใยต่ำ | พยาธิสภาพที่ไม่มีสาเหตุเฉพาะเจาะจง | มีสารเพิ่มกากอาหาร มีแลคโตสต่ำ มีไขมันต่ำเท่าที่รับได้ | มีแลคโตสต่ำ มีไขมันต่ำเท่าที่รับได้ | | ตารางที่ 5 เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างการดูดซึมอาหารผิดปกติกับการอักเสบของลำไส้ (Colitis) | | การดูดซึมอาหารผิดปกติ | ลำไส้อักเสบ | จำนวนครั้งที่ถ่ายอุจจาระใน 1 วัน | 3-8 | 3-30 | ปริมาตรอุจจาระใน 1 วัน | 750-10,000 ml | 250-1,000 ml | ความถี่ของการบีบตัวของลำไส้ | ไม่แน่นอน | ปกติ | มีเลือดในอุจจาระ | ไม่มี | มี | ภาวะฉุกเฉิน(Urgency) | มี | มี | อาการปวดในท้อง | มี บริเวณรอบๆ สะดือ | มีบริเวณท้องส่วนล่าง | ภาวะการขาดน้ำ | มี | ไม่มี | | ดังนั้นในผู้ป่วยเอดส์ที่มีอาการท้องเสีย จำเป็นต้องวินิจฉัยว่า ท้องเสียจากสาเหตุอะไร และพยาธิสภาพเป็นแบบไหน เพื่อจะได้จัดอาหารเสริมได้เหมาะสมต่อไป | | ข้อแนะนำทั่วไป สำหรับผู่ป่วยเอดส์ที่มีอาการท้องเสียถ่ายบ่อยมากกว่าวันละ 5 ครั้งขึ้นไป | | ดื่มน้ำตาลเกลือแร่ชดเชย เพื่อป้องกันภวาะร่างกายขาดน้ำ โดยอาจใช้เกลือแร่ชนิดผงขององค์กรเภสัชกรรม ชงดื่มบ่อยๆ หรือเตรียมเองโดยใช้เกลือป่น ครึ่งช้อนชา น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ น้ำสะอาด 1 ขวด ( 750 ซีซี. ขนาดเท่าขวดน้ำหวานหรือน้ำปลา) ผสมให้เข้ากัน เก็บไว้ในตู้เย็นได้นาน 24 ขั่วโมงหรือดื่มน้ำผลไม้ น้ำมะพร้าว น้ำข้าวต้มใส่เกลือ | | | งดดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น กาแฟ เครื่องดื่มชูกำลัง เพราะจะยิ่งกระตุ้นให้ท้องเสียมากขึ้น | | ควรได้รับอาหารที่มีไขมันต่ำและหลีกเลี่ยงการดื่มนมวัวปกติก่อน อาจเปลี่ยนเป็นนมถั่วเหลืองแทนหรือใช้อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย เช่น ไอโซคาล ลิปิซอร์บ แพนเอนเทอราล หรือใช้นมผงเด็กชนิดที่ระบุว่าสำหรับเด็กที่มีปัญหาการย่อยอาหาร หรือดูดซึมผิดปกติ เช่น โอแลค โปรโซบี ไอโซมิล เป็นต้น โดยผสมเจือจางในขช่วงแรกก่อน เมื่ออาการดีขึ้นจึงผสมในอัตราส่วนที่แนะนำข้างกระป๋อง หรือรับประทานอาหารอ่อน เช่น โจ๊ก ข้าวตุ๋น เป็นต้น | | |
0 comments:
Post a Comment